Language Experiences Management for Early Childhood การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สรุปการเรียนรู้เพื่อแบ่งปันของเพื่อน


8 กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                การสอนภาษาให้สนุกกับเด็กเราต้องมีกิจกรรมพิสูจน์ความสามารถของเด็กด้วยและกิจกรรมนั้นไม่ควรยากเกินความสามารถของเด็ก และควรมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือเพื่อตองสนองความแตกต่างของเด็กๆ กิจกรรมมีทั้งหมด 8 กิจกรรม ดังนี้
                1.เรื่องเล่าเช้านี้   ให้เด็กๆแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันของแต่ละคนให้ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนๆ การสนทนาที่สำคัญคุณครูต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องกับเด็กและครูจะต้องสอนมารยาทในการฟังการพูดแก่เด็กด้วย
                2.อยากจะอ่านดังๆ  ครูควรเลือกหนังสือที่เด็กๆสนใจมาสัก 1 เล่ม และให้เด็กๆได้อ่านออกเสียงกันเป็นประจำเพราะช่วงเวลาของเด็กในตอนนี้เด็กจะมีความสุขและความรู้สึกดีต่อการอ่าน ครูควรแนะนำให้เด็กๆรู้จัก  ชื่อผู้แต่ง  ผู้แปล  ผู้วาดภาพประกอบ  ในการอ่านครูควรชี้นิ้วไปตามเรื่องที่อ่านด้วยหรือตั้งคำถามให้กับเด็กๆเพื่อให้เด็กๆได้ร่วมคาดเดากับเหตุการณ์ที่จะเกิดล่วงหน้า
                3.หนูเล่าอีกครั้ง  เมื่อนิทานเล่มสนุกของเด็กๆจบลง คุณครูควรลองให้เด็กๆนำนิทานกลับมาเล่าให้ครูและเพื่อนๆได้ฟังบ้างก่อนที่คุณครูจะให้เด็กเล่าควรใช้คำถามกระตุ้นเด็กๆควรจับใจความสำคัญ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเด็ก
                4.อ่านด้วยกันนะ  หนังสือภาพขนาดใหญ่หรือ  Big  book  จะช่วยในเรื่องภาษาของเด็กๆ คุณครูชวนเด็กๆมาพูดคุยถึงเรื่องที่จะนำมาเล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและให้เด็กมีพื้นฐานในการฟังแล้วจึงค่อยอ่านให้เด็กๆฟังและควรชี้นิ้วไปด้วยเพื่อให้เด็กๆได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ ข้อความเมื่อเด็กๆเริ่มคุ้นเคยคุณครูก็ปิดข้อความ ปิดคำ แล้วให้เด็กๆได้ทายหรือทำบัตรคำเพื่อให้เด็กๆได้หาคำนี้จากหนังสือ
                5.อ่านตามใจหนู  นอกจากหนังสือนิทานภาพสวยๆแล้วยังมีสิ่งอื่นที่เด็กสามารถอ่านได้  เช่น  ป้าย  คำขวัญ  กล่องคำ สิ่งต่างๆเหล่านี้เด็กก็สนใจอยากอ่านเหมือนกัน ครูควรทำการบันทึกการอ่านของเด็กโดยที่ให้เด็กๆเล่าเรื่องที่เด็กสนใจที่เด็กๆได้อ่านให้คุณครูฟัง
                6.หนูอยากอ่านเอง  สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆที่ซนหยุดนิ่งได้เพราะจะให้เขาเลือกอ่านตามใจชอบจะหยิบอะไรมาจะอ่านอะไรก็ไม่มีใครว่าเมื่อเด็กๆอ่านจบแล้วควรให้เด็กๆได้ทำงานเพราะเพื่อที่เด็กจะได้เกิดความรู้สึกอยากที่จะอ่านเต็มที่
                7.เขียนด้วยกันนะ  คุณครูชวนเด็กๆมาเขียนด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวันครูต้องเป็นผู้เริ่มเขียนให้เด็กๆบอกสิ่งที่ต้องการเขียนเป็นข้อความสั้นๆเด็ก ๆ จะเห็นวิธีการเปลี่ยนความคิดมาเป็นข้อความ เห็นลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม และควรให้เด็ก ๆ บอกให้ครูเขียนเป็นระยะ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็ก ๆ เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเขียน รู้จักตัดสินใจแสดงความคิดเป็นตัวอักษร
                8.หนูอยากเขียนเอง  เด็กๆจะได้ลงมือมือปฏิบัติเขียนเองจริงๆสักทีให้เด็กได้เขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจพวกเขาทำกิจกรรมและเขียนถ่ายทอดผลงานความคิดออกมา  เช่น  การบันทึกชื่อนิทาน


8 กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะเป็นการพัฒนาเด็กในทุกๆด้าน และยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กรู้จัก การฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน ซึ่งทักษะต่างๆเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะทักษะเหล่านี้จัต้องติดตัวเด็กไปตลอด เราจึงต้องทำให้เด็กรักในการฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน



พัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ความสำคัญของภาษา
  •     ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อการติดต่อสัมพันธ์กับสังคมรอบๆตัว
  •     ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งใน และนอกระบบโรงเรียน
  •     ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดด้วยตนเอง
  •     ภาษาเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ 
  •     การใช้ภาษาของมนุษย์เป็นเครื่องบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของผู้พูด


พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในแต่ละขั้น
  • ขั้นที่ 1. ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน
  • ขั้นที่ 2. ขั้นเล่นเสียง
  • ขั้นที่ 3. ขั้นเลียนเสียง
  • ขั้นที่ 4. ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
  • ขั้นที่ 5. ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน


พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในเชิงพฤติกรรม 7 ระยะ
  • ระยะเปะปะ
  • ระยะแยกแยะ
  • ระยะเลียนแบบ
  • ระยะขยาย
  • ระยะโครงสร้าง
  • ระยะตอบสนอง
  • ระยะสร้างสรรค์


ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
  • เติบโตช้าผิดปกติ สมองช้า
  • มีอารมณ์ประเภทต่างๆ รุนแรงเกินสมควร
  • สมองคิดเร็วเกินกว่าที่จะพูดออกมาทัน
  • ถูกล้อเลียน ทำให้เสียความมั่นใจ ประหม่า ไม่แน่ใจ เคร่งเครียด


บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา


บทบาทของผู้ปกครอง
  • พ่อแม่ควรพูดให้ชัดเจน
  • พ่อแม่ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัยเด็ก
  • พ่อแม่ควรแก้ไขข้อบกพร่องในการออกเสียงของเด็ก
            บทบาทของครูปฐมวัย
  • เจตคติของครู
  • บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของครู
  • ความสามารถในการสอน และการใช้ภาษาของครู

กลยุทธ์ในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
  • ใส่ใจกับความสนใจของเด็ก
  • ตีความหมาย และขยายความจากสิ่งที่เด็กกล่าวมา
  • ช่วยเด็กคิดหาคำศัพท์
  • เชื่อมโยงไปยังสิ่งที่เด็กรู้จัก
  • อธิบายคำศัพท์ที่เด็กไม่รู้มาก่อน
  • ใช้ประโยชน์จากทักษะทางภาษาที่เด็กมีอยู่แล้ว



http://202.183.233.76/online/education/media/ECED301/ECED301.pdf   และ  http://www.sprogpakken.dk/translated/materialer/th_sprogligestrategier_visueltekst.pdf


สรุปจากบทความ


พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับเด็ก และการพัฒนาทางภาษาก็มีหลายขั้นตอนเราซึ่งเป็นครูปฐมวัยจะต้องรู้ว่าเด็กในแต่ละคน หรือแต่ละวัยนั้นมีความแตกต่างหรือความสามารถมากน้อยแค่ไหน และจะต้องแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน
สำหรับเด็กปฐมวัย

                    ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ  แรกเกิดถึง 7 ปี  หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80ของผู้ใหญ่  ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ
                    สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ  สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น  สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
                    การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 
1.)การทำงานของสมอง  
2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก  
3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา  ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ

                    การทำงานของสมอง
                    สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่  สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่  หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท  ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก  ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์

ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
1.             ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
        ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน
                     การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ
                           
                              “ ฉันฟัง  ฉันลืม
                               ฉันเห็น  ฉันจำได้
                               ฉันได้ทำ  ฉันเข้าใจ”

                2.  ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ  ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา  ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข  ไม่ให้เครียด
                3.  ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ  และพยายามเข้าใจเขา

เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล              ลูกไม่รู้ว่าแม่เหนื่อย            ลูกไม่เข้าใจ  ลูกก็ซน ช่างซักช่างถาม อย่ารำคาญ อย่าโกรธลูกเลย         รักลูกก็ให้กอดลูกแล้วบอกว่าแม่รักพ่อรัก           แสดงความรักออกมาอย่างจริงใจ  แสดงความใส่ใจต่อลูก      นี้คือยาวิเศษที่ลูกต้องการ                     คนที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือคนอารมณ์ดี

สรุปจากบทความ
การจัดการเรียนรู้นั้นครูควรจัดให้เหมาะสมกับเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมต่างๆอย่างมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้โดยผ่านการเล่น และการเรียนของเด็กนั้นจะมีการพัฒนาได้เยอะกว่าสมองของผู้ใหญ่มาก และสมองของเด็กนั้นก็พัฒนามาตั้งแต่ในท้องแม่ และเด็กก่อน 3 ปีนั้นจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สรุปการเรียนรู้เพื่อแบ่งปัน


การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach )
 การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ความคิด สัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก
การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้

        1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม
        2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน
        3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษา ครูต้องอ่านและเขียนให้เด็กได้เห็น เป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน

        4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

        5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน 

        6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ
        7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก
        8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้

การสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียนอนุบาล
การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน

        การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนความเชื่อหรือปรัชญาของผู้จัด การสอนภาษาแบบธรรมชาติของการสอนภาษาจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวม แสดงให้เห็นว่าการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น ซึ่งสภาพแวดล้อมที่สามารถส่งเสริมการเรียนภาษาของเด็กสามารถสรุปได้ ดังนี้

        1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมุมทุกมุมสามารถจัดให้เอื้อต่อการเรียนภาษาได้โดยจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถกระตุ้นให้เด็กต้องการที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

        2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจะต้องเป็นห้องเรียนที่เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
บทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ

        เนื่องจากการสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งเป็นกรอบให้ครูในการตัดสินใจและออกแบบการสอน ดังนั้น เมื่อมีการนำการสอนภาษาแบบธรรมชาติมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนจากการสอนแบบเดิม คือ

        1. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ครูต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสภาพ-แวดล้อม การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ หรือแหล่งข้อมูลสำหรับเด็ก และเป็นผู้ที่จัดให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่การให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดเห็น ให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน สนับสนุนให้เด็กกล้าที่จะอ่านและเขียนคำที่ไม่เคยพบมาก่อน ยอมรับและตอบสนองต่อความพยายามของเด็กในทางบวก ไม่ตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเด็กอ่านหรือเขียนยังไม่ถูก

        2. ครูเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้ ครูต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ทั้งในลักษณะของการสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้หนังสือ เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การชี้คำขณะที่อ่าน การถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน เป็นต้น

        3. ครูเป็นผู้จัดการให้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องจัดการให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ต้องให้เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือ และต้องให้เด็กได้ทำงานร่วมกัน

        4. ครูเป็นผู้ประเมินพัฒนาการ เพื่อดูความก้าวหน้า และสามารถส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมต่อไป
บทบาทเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ

        1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

        2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการที่ใช้ในชีวิตจริงของเด็ก และ การประเมินผลงานของตัวเอง

        3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เด็ก
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

       1. การประเมินต้องเป็นไปตามธรรมชาติการรู้หนังสือของเด็ก ครูต้องศึกษาพัฒนาการด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนของเด็กแล้วนำหัวข้อเหล่านี้มาสร้างเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมิน
        2. การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน และต้องประเมินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ครูทราบพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าจะพัฒนาเด็กอย่างไร
        3. การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่แท้จริง ซึ่งจะต้องมีทั้งการสังเกต บันทึก และการเก็บตัวอย่างงาน โดยครูจะต้องแปลผลข้อมูลอย่างรอบคอบเพื่อให้ผลการประเมินมีความตรงและความเที่ยง
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

        ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของเด็ก จึงจำเป็นต้องจัดให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ดังนี้

        1. ผู้ปกครองควรศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร และการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาล ซึ่งครูควรเป็นผู้ที่สื่อสารให้ผู้ปกครองรับทราบด้วยวิธีการต่างๆ ให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กในทิศทางเดียวกันกับทางโรงเรียน
        2. ผู้ปกครองอาจมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยการร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เช่น เข้าร่วมประชุมกับทางโรงเรียน เยี่ยมชมชั้นเรียน สังเกตการสอน หรือให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียน เช่น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็ก
        3. ผู้ปกครองสามารถช่วยพัฒนาภาษาของเด็กได้โดยการสนทนาและตอบคำถามของเด็กอย่างสม่ำเสมอ จัดหาหนังสือนิทานให้เด็ก อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ จัดให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน เป็นกำลังใจแก่เด็ก เพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียน พยายามไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือตำหนิสิ่งที่เด็กเขียน และผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา

บันทึกครั้งที่16

28 กันยายน 2555

วันนี้อาจารย์ให้วิเคราะห์เกี่ยวกับแท็บเล็ทที่รัฐบาลให้กับเด็ก ป.1

 สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกอยู่วัยประถมหนึ่ง อ่านข่าวชิ้นนี้แล้วรู้สึกอย่างไร ?   
       “ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม มีการวิพากษ์วิจารณ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จากกรณีมีการเผยแพร่ ภาพที่อ้างว่า เป็นแท็บเล็ตพีซี ที่รัฐบาลแจกให้กับเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 มาทดสอบการสกัดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ลามกอนาจาร โดยผู้ทดสอบ (ขอสงวนนาม) ได้อ้างว่า นำเครื่องแท็บเล็ตสำหรับแจกจ่ายให้นักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ที่มารดานำกลับมาจากการอบรมมาทดสอบ โดยทดลองเข้าเว็บโป๊แห่งต่างๆ ซึ่งปรากฏว่า สามารถเข้าไปใช้บริการเว็บลามกอนาจารต่างๆ ได้ทุกเว็บที่ลองทดสอบ  
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รวมทั้ง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ระบุว่า มีการบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์ลักษณะดังกล่าวหมดแล้ว โดยเด็กนักเรียนที่ใช้แท็บเล็ตพีซีที่รัฐบาลแจกให้ จะสามารถเข้าได้เฉพาะเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเท่านั้น จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง”
  
       ……
  
       ข่าวชิ้นนี้ถูกขยายผลมาจากสังคมออนไลน์ที่ได้มีการส่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว แม้เด็กบางคนยังไม่ได้เครื่องแท็บเล็ตแต่สำหรับคนเป็นพ่อแม่ก็อดกังวลใจไม่ได้ว่าจะเป็นเช่นนี้จริงหรือ..!!
  
       ประเด็นเรื่องการเข้าถึงเว็ปไซต์ที่ไม่เหมาะสมของเด็กวัยประถมหนึ่ง เป็นเรื่องที่นักวิชาการและผู้ที่อยู่ในแวดวงคนที่ทำงานเด็กกังวลใจตั้งแต่ที่รู้ว่ามีนโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง และเชื่อว่า ปัญหาจะค่อยๆ ผุดออกมาเรื่อยๆ เมื่อเด็กได้รับและนำไปใช้แล้ว
  
       ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ประเด็นที่ถูกจับตาและมุ่งเน้น จะเป็นเรื่องของระบบ เครือข่าย ไวไฟที่ไม่ทั่วถึง ระบบไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ ไม่มีปลั๊กไฟ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องระบบ โครงสร้างที่ยังไม่ได้เตรียมพร้อม หรือรองรับได้อย่างทันท่วงที แต่เจ้าแท็บเล็ตก็มาถึงแล้ว
  
       แต่ประเด็นใหญ่ที่น่ากังวลใจมากกว่า และถูกละเลยมองข้าม ก็คือ เมื่อเจ้าแท็บเล็ตถึงมือของหนูน้อยวัยประถมหนึ่งเมื่อพวกเขายังไม่พร้อม จะเกิดอะไรขึ้น ?   
       ปัญหาไม่ได้เกิดให้เห็นทันที เหมือนประเภทไม่มีไฟก็ใช้ไม่ได้ แต่มันคือปัญหาทางด้านพฤติกรรม ปัญหาทางด้านสติปัญญา ปัญหาสังคม ที่มันจะตามมาอีกมากมาย และมันจะส่งผลระยะยาว กลายเป็นปัญหาของเด็กรุ่นใหม่ที่จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน
  
       ก่อนหน้านี้ ดิฉันได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ Bill Gates (บิล เกตส์) ซึ่งถือเป็นเจ้าแห่งไอทีอีกคนหนึ่ง เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft กลับมีความคิดเห็นที่น่าสนใจยิ่ง ซึ่งถ้าจะสามารถกระตุกให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราได้คิดสักนิดก็ยังดี..!!!
  
       บิลเกตส์ ให้สัมภาษณ์ กับ เว็บไซต์ The Chronicle of Higher Education ในประเด็นการแจกแท็บเล็ตมาใช้ในการสอนว่า
  
       “หากเป็นแท็บเล็ตไว้แจกตัวเครื่องให้นักเรียนอย่างเดียว นับว่าเป็นเรื่องที่แย่มาก มันไม่ได้ช่วยให้การศึกษาดีขึ้นเลย มันจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งหลักสูตรและตัวบุคลากรครูผู้สอนไปพร้อมๆ กัน ยิ่งอุปกรณ์อย่างแท็บเล็ตไม่มีคีย์บอร์ดก็ไม่เหมาะสำหรับการศึกษา เพราะแท็บเล็ตไม่ใช่แค่มีไว้อ่านเหมือนหนังสือ แต่มันเป็นการสื่อสารที่ต้องใช้การโต้ตอบ เพื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งแนะนำให้ใช้พีซีราคาถูก เป็นคำตอบที่ดีและเหมาะสมกว่า ถ้าเราสามารถปรับปรุงด้านหลักสูตรให้ดีขึ้น มีความพร้อม และสร้างระบบ และมีนโยบายเพื่อการเข้าถึงหลักสูตรเหล่านั้น ตัวอุปกรณ์นั้นจะเป็นคอมพิวเตอร์ให้ยืมจากห้องสมุดก็สามารถใช้งานได้”  
       จะว่าไปก็สอดคล้องนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กที่ก่อนหน้านี้ออกมาทักท้วงเรื่องความไม่เหมาะสม และความไม่พร้อมของเด็กประถมหนึ่ง เพราะยังไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมในทุกด้านและทุกมิติมาก่อน แต่สุดท้ายนโยบายเรื่องนี้ก็คลอดออกมาอย่างรวดเร็ว และทุกอย่างก็ดูเร่งรีบไปซะทุกเรื่อง โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นประเด็นถูกจับตาอย่างมาก
  
       และ..วันนี้แท็บเล็ตก็ทยอยแจกถึงมือเด็ก ป.1 กันแล้ว
  
       คำถามคือ จากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นำเจ้าเครื่องแท็บเล็ตมาใช้?
  
       ความจริงเรื่องการแจกแท็บเล็ตก็มีข้อดีอยู่บ้าง เพราะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสได้เข้าถึงข้อมูลทางเทคโนโลยีได้มากขึ้น เพราะเราก็ปฏิเสธโลกเทคโนโลยีไม่ได้แล้ว แต่คำถามหรือคำทักท้วงก็คือ ทำไมต้องเป็นเด็กประถมหนึ่ง ยิ่งถ้าเป็นเด็กชนบท เด็กที่ขาดโอกาส หรือเด็กที่ยังไม่พร้อม ยิ่งไม่เหมาะ เพราะเด็กบางคนยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้อีกต่างหาก
  
       นโนบายนี้จะเกิดประโยชน์อย่างมากถ้ามีการแจกในวัยที่เหมาะสม และมีการศึกษาถึงผลกระทบที่จะตามมาอย่างรอบด้านเสียก่อน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วนของสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อเรื่องนี้ให้ชัดเจน และทำความรู้ความเข้าใจกับพ่อแม่กับสังคมให้ได้อย่างทั่วถึงเสียก่อน
       แม้ในที่สุดภาครัฐจะยังไม่ได้เตรียมรับมือใดๆ หรือไขคำทักท้วงแต่ประการใด เจ้าแท็บเล็ตก็มาถึงมือของเด็กประถมหนึ่งกันแล้ว
  
       ฉะนั้น เป็นหน้าที่ของพ่อแม่เองแล้วว่า ควรต้องเตรียมรับมืออย่างไรให้รู้เท่าทัน
  
       หนึ่ง ต้องไม่ปล่อยให้เด็กใช้แท็บเล็ตลำพัง ควรมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยทุกครั้ง เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกวิธี
  
       สอง กำหนดระยะเวลาในการใช้งาน หรือสร้างกฎกติกาภายในบ้านร่วมด้วย โดยอาจให้ลูกมีส่วนร่วมกันกำหนดด้วยก็ได้
  
       สาม สอนให้ลูกใช้งานให้ถูกวิธี ทุกครั้งที่ใช้ควรอยู่ในสถานที่ๆ มีแสงสว่างเพียงพอ และมีระยะห่างกับจอพอสมควร มิฉะนั้น เด็กจะต้องใช้สายตาเพ่งมาก
  
       สี่ อย่าให้หมกมุ่นกับแท็บเล็ต จนไม่ได้ออกไปวิ่งเล่นหรือออกกำลังกาย สุดท้ายจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพตามมา มักกลายเป็นเด็กอ้วน หรือเด็กที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง
  
       ห้า ให้แบ่งเวลาสำหรับการอ่านหนังสือเป็นประจำ อาจกำหนดช่วงเวลาด้วยเพื่อปลูกฝังให้ลูกไม่ทิ้งเรื่องการอ่านหนังสือด้วย
  
       หก หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกด้วย เพราะเด็กบางคนที่เสพติดคอมพิวเตอร์ เสพติดเกม หรือเสพติดเทคโนโลยี มักจะเป็นคนที่หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หรืออาจเคยชินกับความรวดเร็ว ก็อาจไม่รู้จักการรอคอย ถ้าอยากได้อะไรก็ต้องให้ได้ทันที ฯลฯ
  
       เจ็ด สำคัญที่สุด คือ พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านต้องให้คำแนะนำเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสม ต้องคอยสอดส่องและควบคุมการใช้งาน อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเจ้าเครื่องนี้มีทั้งประโยชน์และโทษอย่างไร ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีจะนำไปสู่อะไร
  
       ในเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์จริง และลูกก็ได้รับแจกแท็บเล็ตด้วย พ่อแม่มีความจำเป็นต้องรู้เท่าทันและเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ต้องแปรวิกฤติให้เป็นโอกาสซะเลย แต่คนเป็นพ่อแม่ต้องมีความรู้ และหาข้อมูลให้เท่าทันเทคโนโลยีด้วย
  
       หนักใจแทนพ่อแม่ยุคนี้จริงๆ เพราะนอกจากจะต้องรับมือเรื่องโลกการเรียนรู้ของลูกเองแล้ว ก็ยังต้องคอยรับมือกับนโยบายของภาครัฐที่ไม่รู้ว่าวันดีคืนดีจะแจกยาหอมหรือยาพิษให้กับลูกหลานของเราเมื่อไรอีก…!!!  





    



วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่14

14 กันยายน 2555

        วันนี้อาจารย์ไม่อยู่เนื่องจากต้องไปคุมสอบให้พี่ปี 5 จึงให้นักศึกษาอัดวีดีโอและเล่านิทานโดยใช้ เทคนิกต่างๆที่จับฉลากได้ออกมาเล่าทีละกลุ่มซึ่งกลุ่มของดิฉันจับได้เทคนิก เล่าไปตัดไป




บันทึกครั้งที่13

7 กันยายน 2555

วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาที่เรียนมาทั้งหมด


  • การวิเคราะห์พัฒนาการทางภาษาจากสภาพจริงโดยใช้การสัมภาษณ์ เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการทางภาษาของเด็กแต่ละวัย แต่ละช่วงอายุ
  • ใช้สื่อนิทานในการสังเกตพัฒนาการทางภาษาของเด็ก สังเกตว่าเด็กเป็นอย่างไร จับใจความได้ไหม รู้ไหมว่ามีตัวละครอะไรบ้าง เมื่อฟังแล้วเด็กสามารถเล่าเรื่องที่ฟังได้หรือไม่ สามารถคาดเดาเหตุการณ์ต่อไปได้ไหม รู้จักการแก้ปัญหาหรือไม่
  • ใช้สื่ออะไรในการจัดประสบการณ์ของเด็ก >>> เพลง นิทาน คำคล้องจอง เกม ปริศนาคำทาย
  • การทำสื่่อ การจัดมุมประสบการณ์ทางภาษา มุมอ่านนิทาน มุมเทปเพลง มุมกระดานเขียน มุมหุ่นมือ มุมคลังคำศัพท์ 
**มุมภาษาต้องการความสงบ ห้ามนำมุมบล็อกมาอยู่ใกล้กันเพราะการเล่นบล็อกเสียงจะดัง

  • มุมประสบการณ์ทางภาษาในชีวิตประจำวัน เช่น การทักทาย มารยาทต่างๆ มีการเซนต์ชื่อกิจกรรมหน้าเสาธง เชื่อเรื่องเล่า ข่าวสารต่างๆที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
  • ภาษาเป็นเคลื่องมือในการสื่อสาร สามารถนำกิจกรรมต่างๆมาสอดแสรกได้หลายอย่าง เช่น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ --->> บอกชื่อแล้วทำท่าประกอบ 
  • ใช้ศิลปะวาดภาพเพื่่อใช้ในการสื่อสาร การวาดภาพจะทำให้เด็กมีประสบการณ์
  • การเขียนเป็ยวิธีการที่สำคัญที่ใช้ในการสื่อสาร

บันทึกครั้งที่12

31 สิงหาคม 2555


         วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอเพลงที่แต่ละกลุ่มได้แต่งขึ้นมาแล้วนำไปเสนอหน้าห้อง พร้อมทั้งสอนเพื่อนๆร้องเพลงด้วยซึ่งเพลงที่กลุ่มของข้าพเจ้าแต่งขึ้นคือ



   

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่11

24 สิงหาคม 2555

      วันนี้อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุยแล้วให้วิเคราะห์ว่าเพลงนั้นมี
- วัตถุประสงค์อะไร
- ฟังแล้วได้อะไร
- สอนอะไรกับเราบ้าง


      อาจารย์สั่งงาน
- ให้แต่งเพลงพร้อมประกอบท่าทาง
- ให้แต่งนิทานเล่าไปตัดไป(แล้วแต่ว่าในแต่ละกุ่มได้รับมอบหมายให้เล่าแบบใด)