Language Experiences Management for Early Childhood การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สรุปการเรียนรู้เพื่อแบ่งปันของเพื่อน


8 กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                การสอนภาษาให้สนุกกับเด็กเราต้องมีกิจกรรมพิสูจน์ความสามารถของเด็กด้วยและกิจกรรมนั้นไม่ควรยากเกินความสามารถของเด็ก และควรมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือเพื่อตองสนองความแตกต่างของเด็กๆ กิจกรรมมีทั้งหมด 8 กิจกรรม ดังนี้
                1.เรื่องเล่าเช้านี้   ให้เด็กๆแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันของแต่ละคนให้ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนๆ การสนทนาที่สำคัญคุณครูต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องกับเด็กและครูจะต้องสอนมารยาทในการฟังการพูดแก่เด็กด้วย
                2.อยากจะอ่านดังๆ  ครูควรเลือกหนังสือที่เด็กๆสนใจมาสัก 1 เล่ม และให้เด็กๆได้อ่านออกเสียงกันเป็นประจำเพราะช่วงเวลาของเด็กในตอนนี้เด็กจะมีความสุขและความรู้สึกดีต่อการอ่าน ครูควรแนะนำให้เด็กๆรู้จัก  ชื่อผู้แต่ง  ผู้แปล  ผู้วาดภาพประกอบ  ในการอ่านครูควรชี้นิ้วไปตามเรื่องที่อ่านด้วยหรือตั้งคำถามให้กับเด็กๆเพื่อให้เด็กๆได้ร่วมคาดเดากับเหตุการณ์ที่จะเกิดล่วงหน้า
                3.หนูเล่าอีกครั้ง  เมื่อนิทานเล่มสนุกของเด็กๆจบลง คุณครูควรลองให้เด็กๆนำนิทานกลับมาเล่าให้ครูและเพื่อนๆได้ฟังบ้างก่อนที่คุณครูจะให้เด็กเล่าควรใช้คำถามกระตุ้นเด็กๆควรจับใจความสำคัญ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเด็ก
                4.อ่านด้วยกันนะ  หนังสือภาพขนาดใหญ่หรือ  Big  book  จะช่วยในเรื่องภาษาของเด็กๆ คุณครูชวนเด็กๆมาพูดคุยถึงเรื่องที่จะนำมาเล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและให้เด็กมีพื้นฐานในการฟังแล้วจึงค่อยอ่านให้เด็กๆฟังและควรชี้นิ้วไปด้วยเพื่อให้เด็กๆได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ ข้อความเมื่อเด็กๆเริ่มคุ้นเคยคุณครูก็ปิดข้อความ ปิดคำ แล้วให้เด็กๆได้ทายหรือทำบัตรคำเพื่อให้เด็กๆได้หาคำนี้จากหนังสือ
                5.อ่านตามใจหนู  นอกจากหนังสือนิทานภาพสวยๆแล้วยังมีสิ่งอื่นที่เด็กสามารถอ่านได้  เช่น  ป้าย  คำขวัญ  กล่องคำ สิ่งต่างๆเหล่านี้เด็กก็สนใจอยากอ่านเหมือนกัน ครูควรทำการบันทึกการอ่านของเด็กโดยที่ให้เด็กๆเล่าเรื่องที่เด็กสนใจที่เด็กๆได้อ่านให้คุณครูฟัง
                6.หนูอยากอ่านเอง  สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆที่ซนหยุดนิ่งได้เพราะจะให้เขาเลือกอ่านตามใจชอบจะหยิบอะไรมาจะอ่านอะไรก็ไม่มีใครว่าเมื่อเด็กๆอ่านจบแล้วควรให้เด็กๆได้ทำงานเพราะเพื่อที่เด็กจะได้เกิดความรู้สึกอยากที่จะอ่านเต็มที่
                7.เขียนด้วยกันนะ  คุณครูชวนเด็กๆมาเขียนด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวันครูต้องเป็นผู้เริ่มเขียนให้เด็กๆบอกสิ่งที่ต้องการเขียนเป็นข้อความสั้นๆเด็ก ๆ จะเห็นวิธีการเปลี่ยนความคิดมาเป็นข้อความ เห็นลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม และควรให้เด็ก ๆ บอกให้ครูเขียนเป็นระยะ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็ก ๆ เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเขียน รู้จักตัดสินใจแสดงความคิดเป็นตัวอักษร
                8.หนูอยากเขียนเอง  เด็กๆจะได้ลงมือมือปฏิบัติเขียนเองจริงๆสักทีให้เด็กได้เขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจพวกเขาทำกิจกรรมและเขียนถ่ายทอดผลงานความคิดออกมา  เช่น  การบันทึกชื่อนิทาน


8 กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะเป็นการพัฒนาเด็กในทุกๆด้าน และยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กรู้จัก การฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน ซึ่งทักษะต่างๆเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะทักษะเหล่านี้จัต้องติดตัวเด็กไปตลอด เราจึงต้องทำให้เด็กรักในการฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน



พัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ความสำคัญของภาษา
  •     ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อการติดต่อสัมพันธ์กับสังคมรอบๆตัว
  •     ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งใน และนอกระบบโรงเรียน
  •     ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดด้วยตนเอง
  •     ภาษาเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ 
  •     การใช้ภาษาของมนุษย์เป็นเครื่องบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของผู้พูด


พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในแต่ละขั้น
  • ขั้นที่ 1. ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน
  • ขั้นที่ 2. ขั้นเล่นเสียง
  • ขั้นที่ 3. ขั้นเลียนเสียง
  • ขั้นที่ 4. ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
  • ขั้นที่ 5. ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน


พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในเชิงพฤติกรรม 7 ระยะ
  • ระยะเปะปะ
  • ระยะแยกแยะ
  • ระยะเลียนแบบ
  • ระยะขยาย
  • ระยะโครงสร้าง
  • ระยะตอบสนอง
  • ระยะสร้างสรรค์


ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
  • เติบโตช้าผิดปกติ สมองช้า
  • มีอารมณ์ประเภทต่างๆ รุนแรงเกินสมควร
  • สมองคิดเร็วเกินกว่าที่จะพูดออกมาทัน
  • ถูกล้อเลียน ทำให้เสียความมั่นใจ ประหม่า ไม่แน่ใจ เคร่งเครียด


บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา


บทบาทของผู้ปกครอง
  • พ่อแม่ควรพูดให้ชัดเจน
  • พ่อแม่ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัยเด็ก
  • พ่อแม่ควรแก้ไขข้อบกพร่องในการออกเสียงของเด็ก
            บทบาทของครูปฐมวัย
  • เจตคติของครู
  • บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของครู
  • ความสามารถในการสอน และการใช้ภาษาของครู

กลยุทธ์ในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
  • ใส่ใจกับความสนใจของเด็ก
  • ตีความหมาย และขยายความจากสิ่งที่เด็กกล่าวมา
  • ช่วยเด็กคิดหาคำศัพท์
  • เชื่อมโยงไปยังสิ่งที่เด็กรู้จัก
  • อธิบายคำศัพท์ที่เด็กไม่รู้มาก่อน
  • ใช้ประโยชน์จากทักษะทางภาษาที่เด็กมีอยู่แล้ว



http://202.183.233.76/online/education/media/ECED301/ECED301.pdf   และ  http://www.sprogpakken.dk/translated/materialer/th_sprogligestrategier_visueltekst.pdf


สรุปจากบทความ


พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับเด็ก และการพัฒนาทางภาษาก็มีหลายขั้นตอนเราซึ่งเป็นครูปฐมวัยจะต้องรู้ว่าเด็กในแต่ละคน หรือแต่ละวัยนั้นมีความแตกต่างหรือความสามารถมากน้อยแค่ไหน และจะต้องแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน
สำหรับเด็กปฐมวัย

                    ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ  แรกเกิดถึง 7 ปี  หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80ของผู้ใหญ่  ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ
                    สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ  สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น  สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
                    การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 
1.)การทำงานของสมอง  
2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก  
3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา  ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ

                    การทำงานของสมอง
                    สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่  สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่  หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท  ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก  ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์

ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
1.             ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
        ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน
                     การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ
                           
                              “ ฉันฟัง  ฉันลืม
                               ฉันเห็น  ฉันจำได้
                               ฉันได้ทำ  ฉันเข้าใจ”

                2.  ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ  ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา  ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข  ไม่ให้เครียด
                3.  ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ  และพยายามเข้าใจเขา

เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล              ลูกไม่รู้ว่าแม่เหนื่อย            ลูกไม่เข้าใจ  ลูกก็ซน ช่างซักช่างถาม อย่ารำคาญ อย่าโกรธลูกเลย         รักลูกก็ให้กอดลูกแล้วบอกว่าแม่รักพ่อรัก           แสดงความรักออกมาอย่างจริงใจ  แสดงความใส่ใจต่อลูก      นี้คือยาวิเศษที่ลูกต้องการ                     คนที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือคนอารมณ์ดี

สรุปจากบทความ
การจัดการเรียนรู้นั้นครูควรจัดให้เหมาะสมกับเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมต่างๆอย่างมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้โดยผ่านการเล่น และการเรียนของเด็กนั้นจะมีการพัฒนาได้เยอะกว่าสมองของผู้ใหญ่มาก และสมองของเด็กนั้นก็พัฒนามาตั้งแต่ในท้องแม่ และเด็กก่อน 3 ปีนั้นจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น