Language Experiences Management for Early Childhood การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 4

6 กรกฎาคม 2555

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนองานในหัวข้อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก 1-5 ขวบ 

พัฒนาการของเด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี
เด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี จะเรียนรู้จากการมองเห็น การได้ยินและการสัมผัส สนใจวัตถุที่ยื่นเข้ามาใกล้ วัตถุที่เคลื่อนไหว วัตถุสีสดใส มีการเคลื่อนไหวร่างกายในท่าต่าง ๆ เรียนรู้ ในการทรงตัว ท่านั่ง ท่ายืน พัฒนาการเด็กวัยนี้ในแต่ละด้าน เป็นดังนี้
คำอธิบาย: CIMG5334
- พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
อายุแรกเกิด - 3 เดือน เริ่มชันคอได้ และเมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำเด็กจะยกศีรษะและหน้าอก
อายุ 3-6 เดือน เริ่มพลิกตะแคงตัวคว่ำได้ เอื้อมมือหยิบของเล่นเริ่มคืบไปข้างหน้า
อายุ 6-9 เดือน นั่งตามลำพังได้เป็นพัก ๆ เมื่อจับยืนจะกระโดดยกตัวด้วยความพอใจ นั่งได้เอง คลานได้เอง เริ่มเกาะยืน เกาะเดินไปด้านข้าง ๆ ได้ 4 - 5 ก้าว
อายุ 9 - 12 เดือน เริ่มเกาะเดินไปข้าง ๆ ตามข้างฝา เดินไปข้างหน้าโดยช่วยจูงมือเด็กทั้ง 2 ข้าง และเริ่มเดินได้เอง
- พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา
อายุแรกเกิด - 3 เดือน เริ่มมองวัตถุสีสันสดใส ขณะนอนหงายจะนำมือทั้ง 2 ข้างเข้าหากัน มือจะอยู่ในท่ากำ
อายุ 3 - 6 เดือน จะมองวัตถุจากวัตถุชิ้นหนึ่งไปยังวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง เริ่มกางนิ้วออกหยิบวัตถุสิ่งของ ปล่อยคลายวัตถุออก และเปลี่ยนถ่ายวัตถุจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้
อายุ 6 - 9 เดือน เริ่มใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่น ๆ หยิบวัตถุขึ้นจากพื้น เริ่มใช้นิ้วมือจิ้มชอนไชตามซอกรูต่าง ๆ
อายุ 9 - 12 เดือน จีบนิ้วหยิบจับสิ่งของได้ ใส่วัตถุลงในถ้วยได้
- พัฒนาการด้านความเข้า ใจภาษา
อายุแรกเกิด - 3 เดือน ตอบสนองหรือเคลื่อนไหวร่างกายเมื่อได้ยินเสียง
อายุ 3 - 6 เดือน หันตามเสียงเรียก
อายุ 6 - 9 เดือน สนใจคนพูด เปลี่ยนสีหน้าตอบสนองต่อเสียงที่อ่อนโยน หรือเสียงเกรี้ยวกราด เริ่มทำตามคำสั่งง่าย ๆ เมื่อใช้ท่าทางประกอบ
อายุ 9 - 12 เดือน หันตามเสียงเรียกชื่อ ตอบสนองต่อคำสั่งที่หนักแน่นโดยหยุดกระทำรู้จักสมาชิกในบ้านเมื่อเอ่ยชื่อ
- พัฒนาการด้านการใช้ภาษา
อายุแรกเกิด - 3 เดือน เปล่งเสียงในลำคอ ส่งเสียงอ้อแอ้เมื่อมีคนคุยด้วย
อายุ 3 - 6 เดือน เริ่มเปล่งเสียงสระ เล่นเสียงริมฝีปาก เล่นเสียงพ่นน้ำลาย มีการเลียนแบบการออกเสียงพยัญชนะและสระง่าย ๆ
อายุ 6 - 9 เดือน ออกเสียงซ้ำ ๆ ส่งเสียงเรียกร้องความสนใจเลียนแบบการกระทำ
อายุ 9 - 12 เดือน เลียนแบบการกระทำคู่กับเสียง เลียนแบบการกระทำโดยใช้ส่วนของใบหน้า เช่น กระพริบตา จู๋ปาก แลบลิ้น ยิ้มหวาน

คำอธิบาย: oom- พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
อายุแรกเกิด - 3 เดือน ยิ้มหรือส่งเสียงตอบเมื่อมีผู้พูดคุยและแตะต้องตัว
อายุ 3 - 6 เดือน ยิ้มเอง ยื่นแขนให้อุ้ม พยายามคว้าจับของเล่น
อายุ 6 - 9 เดือน กลัวคนแปลกหน้า เล่นของเล่นได้ตามลำพังดื่มน้ำจากถ้วยแก้วเมื่อมีการช่วยเหลือ เคี้ยวและกลืนอาหารที่บดหยาบได้ ใช้นิ้วมือหยิบอาหาร
อายุ 9 - 12 เดือน ร่วมเล่นจ๊ะเอ๋ ถือช้อนและพยายามเอาอาหารเข้าปากและเคี้ยวกลืนได้
- พัฒนาการด้านการแสดงออกทางอารมณ์
เด็กอายุแรกเกิด - 1 ปี จะร้องไห้เสียใจเมื่อหิวไม่สบาย ถูกแยกจากพ่อแม่ จะยิ้มดีใจเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะโกรธเมื่อถูกแยกจากคนที่รักหรือ ไม่ได้รับการตอบสนองในสิ่ง ที่ทำให้ตนพอใจ และจะรักคนที่ตนเองพอใจและตอบสนองความต้องการของตนเองได้

พัฒนาการของเด็กวัย 1 - 2 ปี
เด็กวัย 1 - 2 ปี จะเป็นวัยที่มีความต้องการเป็นตัวของตัวเอง ชอบเล่นเชิงสำรวจ และชอบการเลียนแบบ พัฒนาการเด็ก ในวัยนี้ในแต่ละด้าน เป็นดังนี้
-          พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
เดินได้เอง เดิน ขึ้น / ลงบันได พักเท้าแต่ละขั้น มือจับราวบันได
-          พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
สามารถขีด เขียนเส้นที่ไม่มีความหมาย เป็นระเบียบลงบนกระดาษได้ ใช้นิ้วมือได้คล่องขึ้น จับคู่วัตถุที่เหมือนกัน ต่อก้อนไม้ สี่เหลี่ยมลูกบาศก์เป็นหอสูงได้ และวางรูป ในช่องกระดานรูปแบบได้
- พัฒนาการด้านความเข้าใจภาษา เลือกวัตถุและรูปภาพที่คุ้นเคยได้ตามสั่ง ชี้อวัยวะของร่างกายได้ 7 ส่วน ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ 3 อย่าง มีความตั้งใจฟังนิทานเรื่องสั้นจนจบ
- พัฒนาการด้านการใช้ภาษา เลียนแบบการพูด และพูดเป็นคำ ๆให้ผู้ใหญ่เข้าใจได้
- พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม ดื่มน้ำรับประทานอาหารได้เองโดยไม่หก ถอดกางเกงเอวยางยืดได้ เริ่มถ่ายอุจจาระเป็นเวลา เริ่มกลั้นปัสสาวะได้ในช่วงเวลากลางวัน สามารถเข้าไปเล่นกับเด็กคนอื่นแบบต่างคนต่างเล่น และปกป้องสิ่งของเมื่อถูกแย่ง
- พัฒนาการด้านการแสดงออกทางอารมณ์ เมื่อ โกรธจะแสดงออกทางร่างกายอย่างรุนแรง พึงพอใจเมื่อได้รับคำตอบจากเรื่องที่อยากรู้ กลัวสิ่งที่เกิดจากจินตนาการ รักและเรียนรู้ที่จะสร้าง ความผูกพันกับคนใกล้ชิด
พัฒนาการของเด็กวัย 2 - 3 ปี
เด็กวัย 2 - 3 ปี จะเป็นเด็กช่างสงสัย เต็มไปด้วยคำถาม การเฝ้าดูการสังเกตและการเลียนแบบเชิงสำรวจ มีความสนใจในการฝึกทักษะอย่างมากชอบทำกิจกรรมซ้ำ ๆ วัยนี้จึงเป็นช่วงสำคัญที่จะทำให้เด็กเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา ชอบขีดเขียนเป็นเส้นยาววงกลม และตั้งชื่อเส้นที่ขีดเขียนได้ พัฒนาการเด็กวัยนี้ในแต่ละด้าน เป็นดังนี้
- พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ถีบจักรยานสามล้อได้ ยืนด้วยขาข้างเดียวได้ กระโดดอยู่กับที่ได้ เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ เล่นกระดานลื่นได้เอง ขว้างลูกบอล วิ่งไปเตะลูกบอลได้
- พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ประกอบรูปจิ๊กซอว์ 3 - 6 ชิ้นได้จับคู่รูปภาพ รูปเรขาคณิต จับคู่สีได้ รู้จักแม่สีหรือสีพื้น ๆ วาดรูปง่าย ๆวาดรูปคนได้ ปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลม ๆ เป็นแท่งหรือบิดเป็นเกลียวร้อยลูกปัดขนาดเล็กได้ ดูหนังสือได้ด้วยตนเอง
- พัฒนาการด้านความเข้าใจภาษา ทำตามคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการกระทำได้ 2 - 3 อย่าง ต่อวัตถุ 2 - 3 ชนิด ในประโยคเดียวกัน ชี้อวัยวะของร่างกายได้ 10 ส่วน เลือกรูปภาพตามสั่งได้ วางวัตถุไว้ข้างบน ข้างใต้ และข้างในได้ สนใจฟังนิทานได้นาน 10 นาที เลือกจัดกลุ่มวัตถุตามประเภทได้
- พัฒนาการด้านการใช้ภาษา พูดเป็นประโยคสมบูรณ์โดยใช้คำ3 - 5 คำ เล่านิทานจากรูป หรือหนังสือง่าย ๆ ได้ พูดตอบโต้คำถามต่าง ๆ  3 คำถาม ในเรื่องเดียวกัน พูดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านไปใหม่ ๆ ได้
- พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม เริ่มเล่นสมมติรู้จักรอคอย ไม่ร้องไห้เมื่อแยกจากแม่ ใช้หลอดดูดของเหลวได้ ใช้ส้อมจิ้ม อาหารรับประทานได้ ใส่ - ถอดเสื้อ / กางเกงได้ บอกเมื่อจะขับถ่าย แปรงฟันได้โดยผู้ใหญ่ช่วย ล้างมือและเช็ดมือได้
- พัฒนาการด้านการแสดงออกทางอารมณ์ เมื่อรู้สึกโกรธจะแสดงออกโดยท่าทางร่วมกับภาษากลัวสิ่งที่เกิดจากจินตนาการมากขึ้นรักและเรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันกับคนนอกบ้าน

พัฒนาการของเด็กวัย 3-4 ปี
เริ่มเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่เฝ้าในการเล่น ใช้พลังงานไปกับการเล่น จะรู้สึกดีที่ได้แสดงออกในสิ่งที่ตนต้องการ เต็มใจลองของใหม่และสิ่งแปลกใหม่ พัฒนาการเด็กวัยนี้ในแต่ละด้าน เป็นดังนี้
- พัฒนาการด้านการเคลื่อ นไหว เด็กสามารถเดินด้วยปลายเท้าเดินบนเส้นตรงกว้าง 5 ซม. ในขณะที่วิ่งแล้วหยุดวิ่ง เลี้ยวหรือหลบสิ่งกีดขวางได้เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ ปีนตาข่ายเชือกได้ ขว้างและรับลูกบอลขนาดเล็กได้วิ่งไปเตะลูกบอลได้โดยไม่ต้องหยุดเล็ง กระโดดสองเท้าได้ไกล 30 ซม. หรือกระโดดลงจากบันไดขั้นสุดท้ายได้ ถีบจักรยาน 3 ล้อได้
- พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ประกอบชิ้นส่วนของรูปภาพได้ วางเรียง ก้อนไม้ที่มีขนาดต่างกัน เรียงตามลำดับได้ จับคู่และแยกรูปภาพ สี วัตถุ ตัวอักษรได้ เลียนแบบการเขียนเครื่องหมายบวก(+) ตัววี (V) วาดรูปคนที่มีส่วนของร่างกายอย่างน้อย 3 ส่วน ร้อยลูกปัดขนาดเล็ก ใช้กรรไกรตัดกระดาษได้สั้น ๆ
- พัฒนาการด้านความเข้าใจภาษา ชี้อวัยวะของร่างกายได้มากขึ้นเลือกรูปภาพชายหญิงได้ รู้จัก ผิวสัมผัสแข็งและนิ่ม รู้จักคำว่าปิดเปิด เลือกรูปภาพที่แสดงสีหน้า สุข เศร้า โกรธ รู้ขนาดใหญ่และเล็ก รู้ตำแหน่ง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง ข้าง ๆ ห่าง ๆ ตอบคำถามง่าย ๆ ได้ โดยการพูดหรือชี้ในขณะฟังนิทาน
พัฒนาการด้านการใช้ภาษา พูดกระซิบหรือตะโกน ร้องเพลงง่าย ๆ ได้ พูดโต้ตอบสนทนา บอกหน้าที่อวัยวะของร่างกายได้ และบอกประโยชน์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น ห้องน้ำ เตาไฟ สามารถเล่าเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปได้ บอกชื่อจริง นามสกุลเต็มของตนเองได้ พูดคำที่มีความหมายตรงข้ามได้พูดเป็นประโยคได้
- พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม เล่นกับเด็กอื่น โดย วิธีการผลัดกันเล่น บอกเพศของตนเองได้ ช่วยงานง่าย ๆ ได้ สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายได้ ใช้ช้อนส้อม รับประทานอาหารได้ เทน้ำจากเหยือกได้โดยไม่หก ถอดกระดุมเม็ดใหญ่ได้ ถอดเสื้อผ้าได้ ไม่ปัสสาวะรดที่นอนในเวลากลางคืน ล้างมือล้างหน้าได้เอง
- พัฒนาการด้านการแสดงออกทางอารมณ์ เมื่อรู้สึกโกรธจะแสดงออกโดยการร้องไห้ กระทืบเท้า กลัวแสดงออกโดยการหลบซ่อน วิ่งหนีรักและเรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันกับเพื่อน มีการอิจฉาริษยา อยากรู้ อยากเห็น  มากขึ้น
เด็กอายุ 3 - 5 ปี เป็นวัยที่มีการพัฒนาทักษะในการรับรู้ทางความคิด สติปัญญา และความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น เด็กจะเริ่มคิด เริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ และชอบถามคำถามบ่อยๆ เช่น นั่นอะไร ทำไม เป็นต้น ซึ่งพ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กบางคนไม่เข้าใจ อาจจะดุเด็กได้จนเด็กบางคนขยาดหวาดกลัวว่า จะทำผิด เพราะถูก ผู้ใหญ่ว่ากล่าวมาแต่เล็ก ความรู้สึกนี้มาปิดกันความคิด ของเดก็ และจะติดตัวจนถึงวัยผู้ใหญ่ ฉะนั้นพ่อ แม่ / ผู้ดูแลเด็กจึงไม่ควรดุว่าเด็ก เมื่อเด็กถามคำถามควรตอบสั้นๆ ง่ายๆ ให้เด็ก เข้าใจทุกครั้ง และอาจตั้งคำถามเพื่อถามเด็กตามความสนใจของเด็ก โดยใช้คำถามปลายเปิด ช่วยขยายความคำตอบของเด็ก ชมเชยเมื่อเด็กตอบได้ดี ช่วยเหลือเท่าที่เด็กต้องการในบรรยากาศที่สนกุ สนานร่วมกัน เป็นการฝึกนิสัย ช่างซัก ช่างถามให้กับเด็กการอ่านหนังสือ เล่า
นิทาน จะเป็นการกระตุ้นการซักถามของเด็กได้ดี นอกจากนี้เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่เด็กอยากให้เพื่อนรัก อยากให้เพื่อนชอบ เด็กต้องการที่จะเอาใจเพื่อน อยากเป็น เหมือนเพื่อน เด็กจะยอมทำกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขาชอบ เด็ก มักชอบร้องเพลงชอบเต้นระบำ อยากเป็นตัวของตัวเอง อยากจะออกไปหาเพื่อนข้างบ้าน อยากจะไปเล่นกับเพื่อน ๆ ครู/พี่เลี้ยงควรสนับสนุนให้เด็กเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่ม ในวัยนี้เด็กอาจจะดื้อเพราะมีความเป็นตัวของตัวเอง ที่สำคัญผู้ดูแลต้องใจเย็น ไม่หงุดหงิด อารมณ์เย็น ควรอธิบายให้เด็กฟัง ถ้าผู้ดูแลโกรธ ดุ หรือใช้วิธีลงโทษที่ไม่เหมาะสม เด็กจะยิ่งมีพฤติกรรมที่ไม่ดีเด็กในช่วงนี้กำลังเรียนรู้สิ่งที่ถูกที่ผิด ไม่เข้าใจรายละเอียดของ
จริยธรรมของความดี เช่น ถ้าเด็กทำของแตก เด็กจะคิดว่าไม่ดี ผู้ดูแลต้องอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และความตั้งใจทำให้ของเสียและจะต้องแยกตัวเด็กออกจากพฤติกรรมของเขา เช่น จะต้องบอกว่า ครูรักหนู แต่ครูไม่ชอบในสิ่งที่หนูทำ หนูทำแจกันแตกเป็นสิ่งที่ไม่ดี มันทำให้เกิดอันตรายแต่ถ้ามันเป็นอุบัติเหตุก็ต้องอธิบายให้ฟังว่า ไม่เป็นไรมันเป็นเพียงอุบัติเหตุ คราวหน้าหนูควรทำอย่างนี้ และที่สำคัญครูควรต้องระวัง ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นโดยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของเด็ก ควรให้เด็กคิดถึงสิ่ง
ที่เขาควรทำได้ สำหรับวัยนี้และจะต้องชมเชยเมื่อเด็กทำได้ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง รวมทั้งเรื่องความคิด การตัดสินใจ การสร้างทัศนคติที่ดี ทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสามารถที่จะทำได้
 สิ่งที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้
แลนเดร็ธ (Landreth) กล่าวว่า ในการเรียนรู้ของเด็กนั้น เด็กในวัยนี้
ควรได้รับการฝึกฝนให้พัฒนาทักษะทางด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ทักษะเกี่ยวกับประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2. กระบวนการคิดและตัดสินใจ
3. การเกิดความคิดรวบยอด
4. การฝึกรูปแบบในการพูด
 ทั้งนี้ เพื่อ ให้เด็ก เกิด ความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ รอบตัวจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้ของเด็ก ครู/พี่เลี้ยงควรมีความเข้าใจแต่ละช่วงของพัฒนาการว่าเด็กสามารถเรียนรู้ อะไรได้โดยวิธีใด ทั้งนี้เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กพัฒนาการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นรูปแบบการเรียนของเด็ก เป็นกระบวนการที่ ก้าวหน้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกระบวนการในการเรียนรู้ ที่มีความสัมพันธ์กัน 17 ประการดังนี้
1. เด็กจะเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสเพื่อนำไปสู่การแยกประเภทและการเรียนรู้สัญลักษณ์
2. เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นไปโดยธรรมชาติ เพี่อนำไปสู่การควบคุมการสร้างความสัมพันธ์ การหาแนวทางของตน และการเลียนแบบในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
3. เด็กจะพัฒนาการออกเสียงอ้อแอ้ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา
4. เด็กจะเรียนรู้การอ่านภาพที่เป็นสัญลักษณ์ เพื่อนำไปสู่การอ่านหนังสือ
5. เด็กจะเรียนรู้การขีดเขียน เพื่อนำไปสู่การเขียนหนังสือ
6. เด็กจะเรียนรู้จากการได้รับประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การศึกษาข้อมูล
7. เด็กจะเรียนรู้ สิ่งที่ประหลาดมหัศจรรย์ เพื่อจะเข้าใจสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ
8.  เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์และพืชเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ ระบบของร่างกายและระบบนิเวศวิทยา
9. เด็กจะเรียนรู้ จากการลากเส้น การแต้มสีและการละเลงสีเพี่อนำไปสู่การวาดภาพ
10. เด็กจะเรียนรู้จากการทำสิ่งของต่างๆ เพื่อนำไปสู่การใช้เครื่องมือง่ายๆ และการพัฒนาทักษะในการสร้างงานฝีมือ
11. เด็กจะเรียนรู้จากการเขย่าและโยกตัวไปสู่การเต้นรำ
12. เด็กจะเรียนรู้จากการฮัมเพลงไปสู่การร้องเพลง
13. เด็กจะเรียนรู้การได้ยินเนื้อเพลง เพื่อนำไปสู่การฟังเพลง
14. เด็กจะเรียนรู้ที่จะตระหนักถึงความต้องการของผู้อื่น เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
15. เด็กจะเรียนรู้จากการได้รับการดูแลจากผู้อื่นเพื่อนำไปสู่การดูแลตัวเอง
16. เด็กจะเรียนรู้ที่จะเป็นสมาชิกของบ้านหรือศูนย์ฯ เพื่อนำไปสู การเป็นสมาชิกของชุมชน
17. เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็น ของฉันเพื่อนำไปสู่การรู้สึกว่าฉันเป็นใคร
                        เด็กวัยแรกเกิด - 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาไอคิวและอีคิว ดังนั้น ผู้ ที่มีหน้าที่ดูแลเด็กจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กแต่ละด้าน และลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้ดูแลจัดการเรียนการสอนให้เด็กเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น